ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

10 อันดับอาชีพที่มีรายได้สูงในไทย


        จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่อง อาชีพยอดนิยมที่มีรายได้สูงในประเทศไทย เราได้ทำการเปรียบเทียบเรียบเรียงและได้จัดอันดับ 10 อันดับ ดังนี้

อันดับที่ 1 คือ ผู้กำกับภาพยนตร์

ที่มา : https://pantip.com/topic/31851688
ผู้กำกับภาพยนตร์ คือผู้ที่มีหน้าที่กำกับในขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่สร้างจินตนาการจากบทหนัง แล้วถ่ายทอดความคิดทางด้านศิลปะออกมาตามแบบที่ตนเองต้องการ และเป็นคนสั่งฝ่ายอื่น ๆ
ลักษณะของงานที่ทำ
1. ทำความเข้าใจ ตีความบทละคร
               2. เลือกผู้ออกแบบ และผู้ร่วมงานฝ่ายต่างๆ
               3. ให้คำแนะนำและรับฟังความเห็นของการคัดเลือกนักแสดงทุกฝ่าย เพื่อตกลงกันถึงรูปแบบการทำงาน
               4. เตรียมการในทุกขั้นตอน เช็คความถูกต้องเรียบร้อยทุกกระบวนการ
5. ฝึกซ้อมการแสดงก่อนถ่ายทำจริงในระหว่างถ่ายทำ และรับผิดชอบในภาพรวมจนกว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ จะดำเนินการเสร็จสมบูรณ์
ความก้าวหน้าในการทำงาน
              สามารถเลือกทำงานได้หลากหลายในวิชาชีพด้านภาพยนตร์เช่น ผู้อำนวยการผลิตผู้กำกับ นักเขียนบท ช่างภาพ ผู้กำกับด้านศิลป์ นักสร้างสรรค์งานโฆษณา ผู้กำกับภาพยนตร์ผู้กำกับด้านศิลป์งานโฆษณา ผู้ออกแบบฉาก  อีกทั้งยังสามารถศึกษาต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรีได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งด้านนิเทศศาสตร์โดยตรง หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น บริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น และสามารถทำงานด้านการใช้สื่อเพื่อการพัฒนาองค์กรในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรธุรกิจเอกชนต่าง ๆ เช่น นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน นักประชาสัมพันธ์ นักโฆษณา นักสื่อสารการตลาด นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ ผู้กำกับการแสดง นักแสดง นักเขียน พิธีกรผู้ประกาศ วิทยากรในการฝึกอบรม เป็นต้น    
อัตราเงินเดือน
รายได้ของผู้กำกับภาพยนตร์นั้น จะมีรายได้ตามจำนวนเรื่องที่กำกับ และได้จากเปอร์เซ็นต์ของรายได้จากภาพยนตร์ ซึ่งจะได้รับรายได้เรื่องละประมาณ 100,000 - 600,000 บาท/เรื่อง
เงินเดือนเฉลี่ย
300,000.00
สายการเรียนที่เข้าได้
                วิทย์-คณิต
                ศิลป์-คำนวณ
คะแนนที่เกี่ยวข้องในการสอบเข้า
Gat  pat1  O-Net   Gpax
คณะ/สาขา มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
เช่น        คณะนิเทศศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                        คณะวิทยาการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คณะวิทยาการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คณะการสื่อสารมวลชน สาขาการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อันดับที่ 2 คือ ผู้กำกับการแสดง

ที่มา : https://thaipublica.org/2016/02/cinema-director-income-1/
ผู้กำกับการแสดง (director)    คือ ผู้ที่รับผิดชอบสูงสุดในสานงานฝ่ายศิลปะ เป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมที่ให้เอกภาพในการแสดงออกทางศิลปะ นับตั้งแต่การแสดง การออกแบบ และการนำศิลปะแขนงต่างๆ อาทิ การเต้นรำและดนตรีมารวมกันเข้าอย่างได้สัดส่วน ทำให้เกิดผลรวมคือ ละครที่มีความสมบูรณ์และมีคุณค่าเหมาะสมที่จะเสนอต่อผู้ชม
หน้าที่ของผู้กำกับการแสดง
              เนื่องจาก ละคร เป็นศิลปะหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน ฉะนั้น ผู้กำกับการแสดงจึงมีหน้าที่ควบคุมดูแลพัฒนาการของศิลปะทุกแขนง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงวันเปิดการแสดง ซึ่งพอจะประมวลได้ดังนี้คือ
               1. ตีความหมายบทละคร
              2. คัดเลือกนักแสดง
             3. เลือกผู้ออกแบบและผู้ร่วมงานฝ่ายต่างๆ
             4. ให้คำแนะนำและรับฟังความเห็นโดยปรึกษาหารือกับผู้ออกแบบทุกฝ่าย เพื่อตกลงกันให้เรียบร้อย ถึงรูปแบบและแนวการเสนอละคร ตลอดจนการตีความหมายของเรื่องก่อนลงมือซ้อมละคร
             5. กำหนดแผนงานการฝึกซ้อมทุกขั้นตอน
             6. ดำเนินการฝึกซ้อม
7. ควบคุมทีมงานการจัดแสดงละคร                                                                                                          
8. เป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสายงานฝ่ายศิลปะ                                                                 9. รับผิดชอบในผลรวมของละคร และในงานสายศิลปะทุกสาขา
ความก้าวหน้าในการทำงาน
         สามารถศึกษาต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรีได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งด้านนิเทศศาสตร์โดยตรง หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น บริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น และสามารถทำงานด้านการใช้สื่อเพื่อการพัฒนาองค์กรในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรธุรกิจเอกชนต่าง ๆ เช่น นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน นักประชาสัมพันธ์ นักโฆษณา นักสื่อสารการตลาด นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ ผู้กำกับการแสดง นักแสดง นักเขียน พิธีกรผู้ประกาศ วิทยากรในการฝึกอบรม เป็นต้น
อัตราเงินเดือน       
                รายได้ของผู้กำกับการแสดงนั้น จะมีรายได้ตามจำนวนเรื่องที่กำกับ ซึ่งจะได้รับรายได้เรื่องละประมาณ 100,000 - 600,000 บาท/เรื่อง                                                                                                                 
เงินเดือนเฉลี่ย                                                                                                                                                               300,000.00                                                                                                                                                                             สายการเรียนที่เข้าได้
วิทย์-คณิต
ศิลป์-ภาษา
คะแนนที่เกี่ยวข้องในการสอบเข้า
Gat  pat1  O-Net   Gpax
คณะ/สาขา มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน  เช่น               
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                            
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะดนตรีและการแสดง สาขาดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา 

อันดับที่ 3 คือ โปรดิวเซอร์
ที่มา : https://daily.rabbit.co.th
โปรดิวเซอร์ (Producer)  มีหน้าที่ผลิต หรือ produce รายการโทรทัศน์ ในทุกๆ ขั้นตอน โดยทั่วได้แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือก่อนการผลิต (เตรียมการ) การผลิต (ถ่ายทำรายการ) และหลังการผลิต (ตัดต่อ แต่งภาพและเสียง และภาพเอฟเฟ็กต์ต่างๆ)  จนกระทั่งออกมาเป็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเผยแพร่ออกไป ไม่ว่าจะโดยการแพร่ภาพออกอากาศหรือไม่ก็ตาม (อย่างรายการที่เผยแพร่เฉพาะทางอินเทอร์เน็ต หรือ เป็น VCD/DVD เช่นสื่อการเรียนการสอน) ซึ่งการที่จะทำขั้นตอนต่างๆ เหล่านั้นได้ โปรดิวเซอร์จำเป็นต้องรู้ทุกๆ ขั้นตอนของกระบวนการผลิต รวมไปถึงบุคลากรหรือทีมงานที่ต้องใช้ในการผลิตด้วย และในองค์กรขนาดเล็ก โปรดิวเซอร์อาจเป็นทั้งผู้ผลิต คนเขียนบท ผู้กำกับรายการ และแม้กระทั่งผู้ตัดต่อเอง 

ความก้าวหน้าในการทำงาน

                        ความก้าวหน้าของโปรดิวเซอร์นั้นจะมาจากประสบการณ์การทำงาน การมีไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นงานที่เน้นการปฏิบัติการเรียนรู้งานและพัฒนาตัวเองต่อไปได้เรื่อยๆ ซึ่งจะช่วยในการพัฒนางานและสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  
อัตราเงินเดือน
                ถ้าทำรายการโทรทัศน์เป็นงานประจำก็จะได้รับเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 และจะได้ขึ้นตามประสบการณ์การทำงานและตำแหน่งงาน แต่หากเป็น Free Lance รายได้ก็จะแตกต่างกันไป แล้วแต่รูปแบบของการทำงาน และรูปแบบรายการ หากเรามีค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการน้อยเท่าไหร่ ก็จะได้รับผลตอบแทนมากขึ้นเท่านั้น
เงินเดือนเฉลี่ย
15,000.00
สายการเรียนที่เข้าได้
                วิทย์-คณิต
                ศิลป์-ภาษา
คะแนนที่เกี่ยวข้องในการสอบเข้า
Gat  pat1  O-Net   Gpax
คณะ/สาขา มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
เช่น        คณะนิเทศศาสตร์  สาขาวิชาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ                                           
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด มหาวิทยาลัยศรีปทุม         
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
อีก 7 อันดับ ***คลิ๊ก***

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

10 อาชีพที่มึรายได้สูงที่สุดในไทย (2)

อันดับที่ 4 คือ นักบิน ที่มา :  https://image.dek-d.com/27/0573/8903/121964749                              นักบิน   มีหน้าที่ บังคับอากาศยานที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ไปรษณียภัณฑ์ หรือสินค้า ควบคุมอากาศยานซึ่งทำการบินในเที่ยวบินตามตาราง หรือ ในเที่ยวบินเช่าเหมา ศึกษาสภาพอากาศ ณ สนามบิน , เส้นทางบิน บรรยาย สรุปแก่ลูกเรือ  เฝ้าตรวจสอบเครื่องมือ เครื่องวัดที่ใช้ควบคุมอากาศยาน ตรวจความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยในการบินและควบคุมเส้นทางบิน ; อาจเป็นผู้ควบคุมอากาศยาน (กัปตัน) ซึ่งรับผิดชอบลูกเรือทั้งหมด หรือเป็นนักบินผู้ช่วย ซึ่งทำการบินภายใต้ ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมอากาศยาน (กัปตัน) ลักษณะของงานที่ทำ        1. กำหนดตารางการบินในแต่ละเดือนว่าเราจะบินที่ไหนบ้าง เวลาใดบ้าง        2. ตรวจสภาพเครื่องทั้งภายนอกและภายในของเครื่องบินว่าพร้อมที่จะบินหรือไม่        3. เตรียมพร้อมที่จะบิน รวมทั้งเริ่มติดต่อกับหน่วยควบคุมการบินทั้งในและต่างประเทศ        4. บินตามแผนการเดินทางที่เราได้วางไว้จนถึงจุดหมายปลายทาง        5. ขับเครื่องบินที่ใช้ในก

10 อันดับอาชีพที่รายได้สูงที่สุดในไทย (3)

อันดับที่ 8 คือ จิตแพทย์ จิตแพทย์ มีหน้าที่   ตรวจและวินิจฉัยอาการทางจิตและรักษาอาการผิดปกติของ ผู้ป่วย ตรวจค้นโรคและความผิดปกติต่าง ๆ ของผู้ป่วยเพื่อให้ทราบ ถึงสาเหตุ อาการผลของโรคและความผิดปกติ โดยใช้เครื่องมือทดสอบร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ วิเคราะห์และ แปลผลทดสอบ อีกทั้งทำงานร่วมกับแพทย์เฉพาะทางอื่นๆ เพื่อกำหนดวิธี การรักษาและสั่งยา แนะนำผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยการรักษา และบันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วย                                                                                            ลักษณะของงาน                     1. ตรวจร่างกาย วินิจฉัย สั่งยา รักษาอาการผิดปกติของผู้ป่วย หรือโดยการใช้เครื่องมือทดสอบที่เป็นมาตรฐาน ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์วิเคราะห์และแปรผลการทดสอบ                                         2. สั่งตรวจทางเอกซเรย์หรือการทดสอบพิเศษ ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม                 3. พิจารณาผลการตรวจและผลการทดสอบ วินิจฉัยความผิดปกติปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์อื่น ต